ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมูตกแต่งภาพเล่าเรื่อง ทศชาติ (กท.๑๔)
วันที่ประกาศ : 22/09/2564 00:00 น. จำนวนผู้เข้าชม 770

กท.๑๔ ตู้ขาหมู  (เลขที่เดิม ๘๕)



กท.๑๔ ตู้ขาหมู  (เลขที่เดิม ๘๕)

ฝีมือช่าง  สมัยรัตนโกสินทร์

ประวัติ    เดิมอยู่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร

ลักษณะลาย       ตู้ลายรดน้ำ  ตกแต่งภาพเล่าเรื่อง ทศชาติ  โดยด้านหน้ามีเรื่อง มโหสถชาดก  ภูริทัตตชาดก 

เนมีชาดกและจันทกุมารชาดก  ด้านข้างขวามีเรื่อง เตมิยชาดก  มหาชนกชาดกและ

สุวรรณสามชาดก  ด้านข้างซ้ายมีเรื่อง นารทชาดก  วิธูรชาดกและมหาเวสสันดรชาดก

ด้านหลัง เป็นการแสดงภาพรอยพระพุทธบาท ซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ สถานที่สำคัญ ๕ แห่ง

ในภาพเป็นภาพรอยพระพุทธบาทอยู่ในภายในซุ้มมณฑป ๕ ซุ้ม

เสาขอบตู้ ๔ ด้านตกแต่งด้วยลายรักร้อยพุ่มข้าวบิณฑ์หน้าขบใบเทศ มีลายกรวยเชิงเป็นที่สุดตอนบนและตอนล่าง    

เสาขาตู้ ๔ ด้าน เขียนภาพท้าวเวสวัณยืน ๒ กรถือตะบองอยู่ประจำเสาขาตู้ทั้ง ๔ ด้าน
ขอบบน ขอบล่าง ๔ ด้านตกแต่งด้วยลายก้านต่อดอกเครือเถาใบเทศเหนือลายบัวรวน
เชิงตู้    ๔ ด้านทำเป็นรูปปากสิงห์ ตกแต่งด้วยภาพทิวทัศน์ในป่า มีต้นไม้นานาชนิดและนกเกาะบนกิ่งไม้ด้านหน้ามีภาพราชสีห์ ๑ คู่อยู่ที่มุมขวา คชสีห์ ๑ คู่อยู่ที่มุมซ้าย กิเลน ๑ คู่อยู่กึ่งกลางเหนือจมูกสิงห์ ด้านข้างขวามีภาพช้าง ๑ คู่อยู่มุมขวา ม้า ๑ คู่อยู่มุมซ้าย ด้านข้างซ้ายมีภาพควาย ๑ คู่อยู่มุมขวา วัว ๑ คู่อยู่มุมซ้าย

มีนกเอี้ยงเกาะอยู่บนหลังควายและวัว ด้านหลังมีภาพคนป่า ๓ คนพ่อแม่ลูกอยู่ทางมุมขวา เสือ ๑ ตัวอยู่ตรงกลางกำลังหมอบจ้องกวาง ๓ ตัว พ่อแม่ลูก ซึ่งยืนอยู่ทางมุมซ้าย มีกระต่าย ๑ คู่อยู่ข้างๆ โคนต้นไม้มุมขวาสุด
หลังตู้ มีเสาหัวเม็ดทรงมัน ๔ เสา ตกแต่งด้วยลายรดน้ำเป็นลายเชิงที่ตัวเสา และลายบัวที่ตัวหัวเม็ดและยอด
เสา

ตู้พระธรรม บนฐานแบบขาหมู ตกแต่งภาพเล่าเรื่อง

ทศชาติ (กท.๑๔)

ศิลปะ รัตนโกสินทร์

ไม้ ลายรดน้ำ

ขนาดสูง ๑๗๖ ซม. กว้าง ๑๐๓ ซม.

ประวัติ ได้มาจากวัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

เขตธนบุรี กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒ กันยายน ๒๔๖๔.

Manuscript Cabinet on pig-legged stand with scenes  from the Dasajati Jataka. [BK.14, 85]

Rattanakosin style

Lacquered and gilded wood and the decorative  technique called Lai Rot Nam (splashed water pattern)

H. 176 cm. W. 103 cm.

From Wat Rakhang Khositaram Woramahawihan,

Bangkok, to the National Library

on 2 September 1921 


Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.