บทความเผยแพร่เนื่องในวันพืชมงคล ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๓ โบราณวัตถุ ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเตาบ้านบางปูนรูปบุคคล คันไถ และวัวคู่
ชิ้นส่วนภาชนะดินเผาเนื้อแกร่งไม่เคลือบ เตาบ้านบางปูน พุทธศตวรรษที่ ๑๘ - ๑๙
ได้จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่แหล่งเตาบ้านบางปูน ตำบลพิหารแดง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๙ - ๒๕๓๐
ชิ้นส่วนภาชนะตกแต่งลายกดประทับรูปบุคคล คันไถ และวัวคู่ อาจหมายถึงพิธีแรกนาขวัญ อันแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของพิธีกรรมก่อนการเพาะปลูกข้าวตั้งแต่สมัยอดีตของไทย ซึ่งมีปรากฏลวดลายกดประทับบนภาชนะดินเผาในสมัยอยุธยา จากแหล่งเตาบ้านบางปูนจังหวัดสุพรรณบุรี ยังหมายรวมถึงการให้ความสำคัญของการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรีด้วย
ปัจจุบันโบราณวัตถุชิ้นนี้จัดแสดงอยู่ที่ห้องจัดแสดงชั้น ๑ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย จังหวัดสุพรรณบุรี
ข้อมูล : หนังสือแหล่งเตาบ้านบางปูน โครงการโบราณคดีประเทศไทย ฝ่ายวิชาการกองโบราณคดี กรมศิลปากร พ.ศ.๒๕๓๑
นางสาวภัทรา เชาว์ปรัชญากุล ภัณฑารักษ์ชำนาญการ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชาวนาไทย สุพรรณบุรี สำนักศิลปากรที่ ๒ สุพรรณบุรี เผยแพร่
(จำนวนผู้เข้าชม 1029 ครั้ง)