C
C
C
Thai
English
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
Thai
English
Login
Register
search
หน้าหลัก
กรมศิลปากร
ประวัติและบทบาทหน้าที่
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ผู้บริหารกรมศิลปากร
ผู้บริหารระดับสูง
ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ
ผู้อำนวยการสำนักส่วนกลาง
ผู้อำนวยการสำนักศิลปากร
CIO
โครงสร้างองค์กร
บุคลากรดีเด่น
ยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ
แผนงาน/โครงการ/งบประมาณ
หน่วยงานในสังกัด
บริการประชาชน
พิพิธภัณฑ์เสมือนจริง
อุทยานเสมือนจริง
GIS (ระบบภูมิสารสนเทศแหล่งมรดกศิลปวัฒนธรรม)
NSW (ขอนำเข้า/ส่งออก โบราณวัตถุศิลปวัตถุ)
e-service (จดแจ้งการพิมพ์, ขอเลข ISSN, ISBN, CIP)
คลังข้อมูลดิจิทัล
จำหน่ายบัตรการแสดงออนไลน์
จำหน่ายหนังสือกรมศิลปากร
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารฯ
อื่นๆ
คู่มือและมาตรฐานกรมศิลปากร
แผ่นพับนำชม
เอกสารดาวน์โหลด
แจ้งและร้องเรียน
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
แบบสำรวจความพึงพอใจ
แหล่งเรียนรู้
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
อุทยานประวัติศาสตร์
หอสมุดแห่งชาติ
หอจดหมายเหตุแห่งชาติ
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวกิจกรรม
ปฏิทินกิจกรรม
ข่าวรับสมัครงาน
จัดซื้อจัดจ้าง
ข่าว Feed
คลังวิชาการ
องค์ความรู้
ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ด้านภาษาและหนังสือ
ด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ด้านสถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
ความรู้ทั่วไป
ความรู้ด้านดนตรีและนาฏศิลป์
ความรู้ด้านภาษา หนังสือ และเอกสาร
ความรู้ด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์
ความรู้สถาปัตยกรรมและช่างศิลป์
วีดิทัศน์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์.
กฏระเบียบ
กฎหมายและระเบียบ
ITA
ติดต่อ
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
วัดช้างรอบ โบราณสถานเมืองกำแพงเพชร
จำนวนผู้เข้าชม 287
โบราณสถานวัดช้างรอบตั้งอยู่บนเนินเขาลูกรัง นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศเหนือที่เป็นเขตอรัญญิกของเมืองกำแพงเพชร ผังของตัววัดหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ปรากฏแนวกำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ สิ่งก่อสร้างสำคัญคือ เจดีย์ประธานทรงระฆังขนาดใหญ่ ซึ่งรูปแบบการสร้างขององค์เจดีย์ได้รับอิทธิพลมาจากเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย เจดีย์ประธานประกอบด้วยฐานประทักษิณสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ มีบันไดอยู่ที่กลางด้านทั้งสี่ เพื่อใช้ขึ้นไปถึงลานด้านบนหรือลานประทักษิณ ส่วนของผนังฐานสี่เหลี่ยมของเจดีย์ประธานประดับประติมากรรมรูปช้างปูนปั้นจำนวน ๖๘ เชือก ลักษณะของงานประติมากรรมรูปช้างปรากฏเฉพาะส่วนหัวและสองขาหน้าโผล่พ้นจากฐานประทักษิณ มีการประดับลวดลายปูนปั้นที่บริเวณแผงคอ มงกุฎที่ส่วนหัว กำไลโคนขาและข้อเท้า ผนังระหว่างช้างแต่และเชือกตกแต่งลายปูนปั้นนูนต่ำรูปพันธุ์พฤกษา โดยลวดลายปูนปั้นรูปใบระกาที่ปรากฏบนแผงคอประติมากรรมรูปช้างมีความคล้ายคลึงกับลายชายผ้าของเทวรูปพระอิศวรสำริด ที่พบยังเมืองกำแพงเพชร ซึ่งมีจารึกที่ระบุปี พ.ศ. ๒๐๕๓ จึงสามารถกำหนดอายุด้วยวิธีการศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบทางศิลปกรรม (Comparative dating) ได้ว่าเจดีย์ประธานวัดช้างรอบแห่งนี้น่าจะสร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑
ชานบันไดแต่ละด้านประดับสิงห์และทวารบาลปูนปั้น บันไดด้านบนสุดที่เข้าสู่ลานประทักษิณทำเป็นซุ้มประตูมีหลังคายอดเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ส่วนของลานประทักษิณก่ออิฐเป็นกำแพงเตี้ย ๆ ล้อมรอบและเชื่อมต่อซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน ทั้งสี่มุมของลานประทักษิณมีฐานเจดีย์ขนาดเล็ก พบหลักฐานส่วนยอดที่หักเป็นเจดีย์ทรงกลีบมะเฟือง
ส่วนของเจดีย์ที่อยู่เหนือชั้นฐานประทักษิณคงเหลือเฉพาะชั้นหน้ากระดานแปดเหลี่ยมและชั้นหน้ากระดานกลม ส่วนองค์ระฆังขึ้นไปพังทลายหมดแล้ว ที่ชั้นหน้ากระดานกลมเหนือฐานแปดเหลี่ยมมีช่องรอบองค์เจดีย์และประดับภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ เช่น ตอนเจ้าชายสิทธัตถะทรงประลองศร เป็นต้น โดยภาพปูนปั้นเหล่านี้ มีลักษณะพิเศษคือการใช้สีดำร่างลายเส้นรูปภาพก่อน แล้วจึงใช้ปูนปั้นทับลายเส้นภายหลัง ส่วนบริเวณด้านล่างของภาพปูนปั้นมีการประดับด้วยประติมากรรมดินเผารูปหงส์และกินรี
ด้านหน้าเจดีย์ประธานมีฐานวิหารผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ภายในวิหารปรากฏแนวแท่นอาสนสงฆ์และฐานประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน เสารองรับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยม หลังคาแต่เดิมมุงด้วยกระเบื้องดินเผา โดยพบหลักฐานโบราณวัตถุประเภทกระเบื้องดินเผาแบบกาบกล้วยและกระเบื้องเชิงชายลายดอกบัวและลายเทพพนม กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ - ๒๒ ถัดไปทางด้านหน้าวิหารเป็นสระรูปสี่เหลี่ยมที่ขุดตัดลงไปในชั้นศิลาแลงเพื่อนำศิลาแลงมาใช้ในการก่อสร้างอาคาร ส่วนอุโบสถอยู่เยื้องวิหารไปทางทิศเหนือ มีใบเสมาทำจากหินชนวนปักโดยรอบ ตัวอาคารก่อด้วยศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานอุโบสถก่อเป็นฐานหน้ากระดานสี่เหลี่ยมมีบันไดทางด้านหน้าเพียงแห่งเดียว บนอาคารอุโบสถปรากฏร่องรอยของฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นซึ่งปัจจุบันเหลือเฉพาะส่วนโกลนของหน้าตัก เจดีย์ทรงระฆังที่มีการประดับประติมากรรมรูปช้างล้อมรอบฐานของเจดีย์ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า เจดีย์ช้างล้อม นั้น นิยมสร้างกันมากในสมัยสุโขทัย อาทิ วัดช้างล้อมแห่งเมืองศรีสัชนาลัย วัดช้างล้อมและวัดสรศักดิ์ แห่งเมืองสุโขทัย เป็นต้น สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลทางศิลปกรรมและคติการสร้างเจดีย์ช้างล้อม จากการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนาผ่านทางเมืองนครศรีธรรมราช ดังปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๙ – ๓๑ ความว่า
“...สังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร หลวักกว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองศรีธรรมราชมา…” และจากหลักฐานการติดต่อสัมพันธ์ทางด้านพระพุทธศาสนากับศรีลังกา ดังปรากฏในศิลาจารึกหลักที่ ๓ จารึกนครชุม
ด้านที่ ๒ บรรทัดที่ ๕๑ – ๕๘ ความว่า
“…หมทลาประดิษฐานไว้ด้วยพระบาทลักษณะหั้นพระบาทลักษณะนั้นไซร้ พระยาธรรมิกราชให้ไปพิมพ์เอารอยตีน…..พระเป็นเจ้าเถิงสิงหลอันเหยียบเหนือจอมเขาสุมนกูฏบรรพต ประมานเท่าใดเอามาพิมพ์ไว้ จุ่งคนทั้งหลายแท้…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองศรีสัชชนาลัยเหนือจอมเขา…อันหนึ่งประดิษฐานไว้ในเมืองสุโขไทยเหนือจองเขาสุมนกูฏ อันหนิค่งประดิษฐานไว้ในเมืองบางพานเหนือจอมเขานางทอง อันหนึ่งประดิษฐานไว้เหนือ จอมเขาที่ปากพระบาง จารึกก็ยังไว้ด้วยทุกแห่งฯ...”
ลักษณะการสร้างวัดช้างรอบ ที่เจดีย์ประธานมีประติมากรรมรูปช้างประดับโดยรอบนั้น สันนิษฐานว่ามีแนวคิดหลักมาจากคติเรื่องศูนย์กลางจักรวาล โดยสื่อว่าเจดีย์ประธานทรงระฆังคือเขาพระสุเมรุ ซึ่งมีองค์ประกอบที่ใช้ประดับตกแต่งโดยรอบคือสัญลักษณ์ที่ใช้เปรียบเทียบเป็นส่วนต่าง ๆ โดยรอบเขาพระสุเมรุ เช่น ช้างที่มีหน้าที่แบกหรือค้ำจุนเขาพระสุเมรุที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล เป็นต้น
---
-------------------------------------
ที่มาของข้อมูล : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
----------------------------------------
เอกสารอ้างอิง
กรมศิลปากร. นำชมอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร. กรุงเทพฯ: บริษัทบางกอกอินเฮ้าส์จำกัด, ๒๕๖๑. ประทีป เพ็งตะโก. “กระเบื้องเชิงชายสมัยอยุธยา.” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๔๐. ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะสุโขทัย: บทวิเคราะห์หลักฐานโบราณคดี จารึกและศิลปกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๖๓. อนันต์ ชูโชติ. “เจดีย์วัดช้างรอบ อ.เมือง จ.กำแพงเพชร.” สาระนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร์บัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๒๓.